วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ยอกยาการ์ตา กับการเลือกร้านอาหาร


ขออนุญาตใช้ประสบการณ์เล่าเรื่องการเลือกร้านอาหารภายในเมืองยอกยาให้ฟังกันน่ะครับ ทราบกันโดยทั่วหน้าแล้วว่ายอกยามีร้านอาหารมากมาย ทั้งที่เป็นร้านใหญ่โต ร้านข้างทาง ขายมากมายหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น โซโต กาโดกาโด โลเต๊ก ซุปเนื้อวัว สะเต๊กไก่ สะเต็กเนื้อวัว สะเต๊กเนื้อกระต่าย ร้านอาหารปาดัง ร้านอาหารตามสั่ง ร้านอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว ลูกค้าเดินเข้าไปสามารถตักใส่จานได้เองก็มี

จากที่เคยลองทานมานั้น ขอแนะนำว่า หากต้องการกินสะเต๊ะเนื้อวัว ขอให้เลือกร้านที่ขายแต่สะเต๊ะเนื้อวัวเท่านั้น อย่างขายอาหารอย่างอื่นร่วมด้วย เพราะจากที่เคยทานมา สะเต๊ะเนื้อวัวที่ทานมันจะไม่ใช่สะเต๊ะเนื้อวัวที่รดชาดอร่อยนัก

ดังนั้นขอสรุปว่า หากต้องการทานอะไรก็ตาม ขอให้เลือกที่ขายเฉพาะอาหารประเภทนั้นๆไปเลย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่ยอกยาจะเป็นแบบนั้น เช่น ขายเฉพาะสะเต๊กเท่านั้น ขายเฉพาะโซโตเท่านั้น แล้วจะได้รดชาดที่ดั้งเดิม  

วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Gedong Carik - Taman Sari - Yogyakarta


อาคารหนึ่งที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปดูมากนัก หากขึ้นมาจากสระน้ำ จะพบทางแยก ซึ่งด้านหน้าคือ Gedong Gapura Hageng เป็นประตูทางด้านทิศตะวันออก ประดับตกแต่งด้วยรูปนกและดอกไม้  ด้านขวามือ ของประตูคือทางเดินไปยังมัสยิด อาคารที่ผมจะแนะนี้ อยู่ทางด้านซ้ายมือ ชื่อว่า Gedong Carik (คำว่า Carik เป็นภาษาชวา แปลว่า Tulis หรือ เขียน) หากยืนหน้าประตูทางเข้า ด้านขวามือในสมัยก่อนนั้นจะเป็นสวนผลไม้ ส่วนซ้ายมือในสมัยก่อนนั้นจะเป็นสวนผัก Gedong Carik นี้ ผมขอสรุปรวมๆก่อนว่า เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านจะมาขอพบสุลต่าน ภายในจะมีห้องนอน ห้องนั่งสมาธิ ห้องทานอาหาร ห้องเก็บเสื้อผ้า ห้องขับถ่าย

เดินเข้าภายในอาคาร ผมขอเรียกจุดนี้ว่า จุดคัดกรอง คือใครก็ตามที่จะมาขอพบสุลต่าน เพื่อการใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานคอยคัดกรองก่อน เพื่อความปลอดภัยของสุลต่านเอง เดินลงบันไดไป จากนั้นให้เลี้ยวขวา จะพบฐานของอาคารเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม ของสุลต่าน อาคารนี้เรียกว่า Gedong Garjitowati รอบๆอาคารนั้นสมัยก่อน จะเป็นสวนสัปรด
เดินผ่านอาคารไปทางด้านซ้ายมือ จะพบกับฐานของห้องทานอาหารของสุลต่าน หากมองไปด้านข้างของตัวฐานคาร จะเห็นบันได หากเดินขึ้นไปนั้น จะพบกับห้องเก็บร่ม เป็นร่มที่ใช้กางตอนที่สุลต่าน หรือ มหาสี เดินออกมากลางแจ้ง อาคารเก็บร่มนั้น เรียกว่า อาคาร Gedong Song Song ( Song Song เป็นภาษาชวา แปลว่า Bayung หรือ ร่ม ) ส่วนคนที่ถือร่มนั้น เรียกว่า Penongsong
เดินลงบันไดมาที่ด้านล่าง ทางขวามือ คือ Gedong Ledok Sari, Ledok เป็นภาษาชวา แปลว่า Rendah แปลว่า ล่าง ส่วนคำว่า Sari เป็นภาษาชวาแปลว่า Indah หรือ งดงาม สวยงาม หากแปลรวมๆก็คือ อาคารด้านล่างที่มีความสวยงาม สถาปัตยกรรมของอาคารนี้ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ ของ 3 ศาสนาด้วยกัน คือ ฮินดู พุทธ และอิสลาม
สัญลักษณ์ของศาสนาอินดูนั้น จะอยู่บนหลังคาทั้งสองข้างของอาคาร มีชื่อเรียกว่า Betorokolo 
สัญลักษณ์ของศาสนาพุทธนั้น เป็นอาคารที่อยู่ด้านหน้า คล้ายวิหารของวัดบ้านเรานั้นเอง
ส่วนสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามนั้น เรียกว่า Kablat 4 Lima Pancer เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อให้เห็นว่า 
ชาวมุสลิมนั้น จะต้องละหมาดต่อวัน 5 เวลาด้วยกัน


ทำไม Betorokolo ถึงอยู่บนหลังคา เพราะว่าศาสนาอินดูเกิดขึ้นก่อน จากนั้นจึงเกิดศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม สัญลักษณ์เลยอยู่ล่างสุด

หากมองไปด้านหน้า ซ้ายมือ คือ ห้องพักทหาร ขวามือคือห้องเตรียมอาหาร


ห้องพักทหารนั้น ภายในจะมีสองห้อง ซึ่งจะเป็นที่นั่งพักทหารทั้งสองห้อง แต่ละห้องสามารถบรรจุทหารได้ 10 นาย ใต้ที่นั่งจะเห็นเป็นช่อง เอาไว้สำหรับสุมไฟหากอากาศหนาว


ตัวอาคารทั้งหมดก่อสร้างโดยใช้ Karpur (หินปูน) + Pasir (ทราย) + Batu Bata Merah (หินแดงบดละเอียด) + Air Laken (น้ำผึ้ง) / Air Tebu (น้ำตาลโตนด) ผสมกันเพื่อใช้ในการสร้างอาคาร


ส่วนต่อไปคือ ผมขอเรียกว่าวิหาร หรือ อาคารพุทธ หากเข้ามาจะเห็นซากของฉากกั้น เนื่องจากห้องนั้น ประตูของวิหาร จะอยู่ตรงกับทางเข้าออกของอาคาร Gedong Ledok Sari โดยมีความเชื่อว่า หากไม่มีอะไรมากั้นไว้ จะทำให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาภายในห้องได้


เดินตรงเข้าไปจะพบซากหลังฉากกั้น (Teral) จะเป็นห้องบรรทมของสุลต่าน และมเหสี โดยมีเตียงแยก ซ้าย ขวา ตอนนี้ให้เราหันหน้าออกมาด้านนอก โดยสุลต่านจะนอนเตียงทางขวา ส่วนมเหสีจะนอนเตียงทางซ้ายมือ (นอนแยกเตียง) ห้องนี้จะใช้เป็นห้องสมาธิด้วยเช่นกัน หากมองดูรูปเตียง จะพบว่า มีช่องอยู่ เพื่อใส่น้ำหากอยู่ในฤดูร้อน และจะสุมไฟ หากฤดูหนาว
ด้านข้างของเตียง จะเป็นปูนปั้นลายดอกไม้ จากรูปก้านดอก หรือ Larjal  สื่อถึง ปีที่ 1000 จงอยปากนกที่กำลังดูดน้ำจากดอกไม้ หรือ Sina Sap Paksi โดย Sina Sap หรือจงอยปากนก สื่อถึง ปีที่ 600 ส่วน Paksi หรือ นก สื่อถึง ปีที่ 1 ส่วนดอกไม้ หรือ Sergal สื่อถึง ปีที่ 90 รวมแล้วภาพนี้สื่อถึง ปีที่สร้าง Taman Sari แล้วเสร็จ คือปี 1691

ส่วนลายปูนปั้นที่สื่อถึงปีที่เริ่มสร้าง Taman Sari จะอยู่ที่ ประตู Gedong Gapura Hageng คือ ปี 1684
การที่สุลต่าน ไม่นอนเตียงเดียวกับมเหสี และไม่นั่งสมาธิพร้อมกับมเหสี เนื่องจากว่า ไม่ค่อยไว้ใจ เกรงถูกลอบปรงพระชนย์

หากสังเกตุประตูทุกประตูจะเห็นว่า สั้น /เตี้ย เนื่องจากว่า วัฒนธรรมของชวานั้น ต้องการสอนให้คนรู้จักการอ่อนน้อม เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้ม ไม่ว่าผู้นั้นจะมียศใหญ่แค่ไหนก็ตาม และในสมัยก่อน จะไม่มีบานตูปิด จะใช้เพียงแต่ม่านปิดเท่านั้น

ห้องถัดไป หากสุลต่าน หรือ มเหสี ต้องการนอนเตียงเดียวกัน เตียงจะเป็นลักษณะตัวเอล โดยสุลต่านและมเหสีจะหันศรีษะไปคนละด้าน โดยปลายเท้าจะชนกัน การนอนแบบนี้นั้น เนื่องจากในสมัยก่อนมีการเล่นคุณไสยกันมาก หากนอนติดกัน คุนไสยจะเข้าตัวได้ง่ายกว่าการนอนแบบนี้
มุมห้องจะมีที่ตั้งตะเกียง เรียกตะเกียงนั้นว่า Pelita ใส้ตะเกียงใช้ผ้า และใช้น้ำมันมะพร้าวในการจุด เนื่องจากจะไม่มีควัน

ห้องกลางคือห้องผ้า ถัดไปคือห้องสุขา ห้องสุขานั้น เป็นสุขารวม สำหรับสุลต่านและมเหสีใช้ร่วมกันเท่านั้น ที่นั่งสำหรับถ่าย จะแยกซ้าย ขวา ตรงกลาง คือ ทางน้ำไหล 
ห้องทางด้านขวามือ (หันหน้าเข้าในอาคาร) คือห้องเก็บกริช หรือเครื่องแต่งกาย ภายในห้องนั้นจะมีสุขเช่นเดียวกัน จะใช้ก็ต่อเมื่อ คนใดคนหนึ่ง กำลังนั่งสมาธิเท่านั้น และเข้าต่อครั้งได้คนเดียวเท่านั้น ภายในห้องนี้ จะมีที่นั่งอบไอน้ำด้วย โดยนั่งบนแคร่ที่สานด้วยไม่ไผ่ เพื่อให้ไอน้ำผ่านขึ้นมาได้ ส่วนใหญ่จะนั่งอบไอน้ำหลังจากนั่งสมาธิเสร็จแล้ว

อาคารถัดไปจะอยู่ข้างบ่อน้ำ ภายในห้องด้านขวานั้นคือ ที่ตั้งของเตรียมปรุงอาหาร ถัดไปเป็นที่ล้างทำความสะอาด ถัดเข้าไปอีกห้องด้านใน จะเป็นเตา ภายในเตาข้างขวาล่าง จะมีรูสำหรับทิ้งเศษอาหาร ถัดไปด้านข้างจะเป็นทางน้ำไหล ข้างเด้านซ้ายมือ จะเป็นที่ตั้งของอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว
ห้องถัดไปจะมีที่ตั้ง จุดนั้น อาหารที่ทำเสร็จแล้วทั้งหมด จะเอามาวางเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งไปยังห้องทานอาหารของสุลต่าน

ขอขอบคุณ Bapak Wedana Jamadinura ผู้ให้ข้อมูล

วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Angkringan ยอกยาการ์ตา




สำหรับคนพื้นเมือง หรือชาวอินโดนีเซียแล้ว คำคำนี้น่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว โดยเป็นรูปแบบการกินอาหารแบบหนึ่งของชาวยอกยาการ์ตาเนิ่นนานมาแล้ว ลักษณะของร้านค้า จะมีลักษณะเล็ก เป็นสถานที่รวมตัวสำหรับ กิน ดื่ม และพูดคุย สามารถหาร้านค้าแบบนี้ได้ง่ายมากตั้งอยู่ทั่วไป ของที่ขายในร้านเป็นอาหารพื้นๆ ที่ถูกปากคนท้องถิ่น ราคาถูกมากๆ 

แล้ว angkringan คืออะไร 

Angkringan มาจากภาษาชวา คำว่า ngangkring หมายถึง ที่นั่งสบายๆ ดังนั้น คำว่า angkrangan น่าจะหมายถึง ร้านค้าแผงลอย สำหรับนั่งกิน นั่งดื่ม นั่งผ่อนคลาย ปกติแล้วร้านแบบนี้จะตั้งอยู่ที่มุมถนน ทางเท้า และที่ว่างต่างๆ ที่ไม่ต้องสร้างแบบถาวร อาหารหลักๆ ที่วางขาย ได้แก่ sego kucing สำหรับลูกค้าหลักของร้าน angkringan ของยอกยาการ์ตา คือ นักเรียน นักศึกษา ลักษณะของร้านนั้น จะคล้ายรถเข็นอาหาร วางเก้าอี้ไว้รอบๆ ทำมาจากไม้ไผ่ หลังคาคลุมด้วยผ้าใบ แสงไฟมาจากตะเกียงน้ำมันก๊าด เจ้าของร้าน angkringan ส่วนใหญ่มาจาก Klaten โดยเฉพาะแถว  Cawas มีร้านทำรถเข็นประเภทนี้วางขายมากมาย ปัจจุบันร้านขายของประเภทนี้มีขยายออกไปหลายเมือง ไม่ว่าจะเป็น บันดุง จาการ์ตา เซอมารัง ส่วนใหญ่แล้วจะมีมากที่เกาะชวา 

แปลจาก tour-yogyakarta.blogspot 

Gudeg อาหารพื้นเมืองยอกยาการ์ตา

ประเทศอินโดนีเซียมีอาหารประจำท้องถิ่นมากมาย หนึ่งในนั้นที่ขึ้นชื่อที่เมืองยอกยาการ์ตา คือ gudeg อ่านว่า กูดึก เป็นอาหารที่มีรสชาดหวาน ทำมาจากผลขนุนอ่อน ใส่น้ำตาลโตนด หาทานได้ง่ายมากที่ยอกยาการ์ตา 

Gudeg นอกจากลักษณะพิเศษของรสชาดแล้ว ยังมีความเป็นมาที่น่าสนใจกว่าจะมาเป็นอาหารประจำท้องถิ่น นานมาแล้วมีคู่สามีภรรยา โดยสามีเป็นชาวอังกฤษ และภรรยาเป็นคนพื้นเมืองชวาทั้งคู่อาศัยอยู่ที่เมืองยอกยาการ์ตา ปกติเวลาชาวอังกฤษคนนี้เวลาเรียกภรรยา จะเรียกว่า "dek" วันหนึ่งภรรยาไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้สามีทาน เห็นขนุนอ่อนจึงเอามาทำอาหารให้สามีกิน สามีลองชิม สามีมีความสุขมาก และสามีพูดขึ้นมา "good dek" ในเวลาต่อมามีการพ้องเสียง ( transform ) กลายเป็น gudeg และได้กลายมาเป็นชื่อของอาหารจานนั้นต่อมา 

อีกตำนานหนึ่งนั้น เนื่องจากในสมัยก่อน ยอกยาการ์ตาเต็มไปด้วยต้นขนุน ขนุนจึงได้กลายมาเป็นอาหารพื้นเมืองหลักของยอกยาการ์ตา

Gudeg นั้นมีมากมายหลายประเภท ประเภทแรก คือ gudeg แบบน้ำ หรือชื่อพื้นเมือง เรียกว่า gudeg basah เครื่องปรุงหลักผสมกับน้ำกะทิ การที่มีน้ำกะทิผสมอยู่ทำให้เก็บไว้ได้ไม่นาน ประเภทที่สอง คือ gudeg แบบแห้ง หรือชื่อพื้นเมือง เรียกว่า gudeg kering เครื่องปรุงหลักคือ กะทิข้น การใช้กะทิข้นเป็นส่วนผสมหลัก ทำให้ gudeg แห้ง เก็บไว้ได้นาน ประเภทที่สาม เรียกว่า Manggar Gudeg ค่อนข้างหาทานยาก มีส่วนผสมของดอกขนุนเป็นส่วนผสมหลัก

หากดูจากในรูป gudeg มีรายละเอียดมากมายอยู่ภายในจาน การปรุงใช่เวลานาน ต้องมีการเตรียมผลขนุน น้ำกะทิ น้ำตาลโตนด ใบต้นสัก และเครื่องเทศ น้ำตาลโตลดและใบต้นสัก เป็นส่วนผสมที่ทำให้น้ำราดของ gudeh เป็นสีน้ำตาล การทำนั้นจะต้องต้ม 24 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นเคี่ยวให้ข้นจนกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ 

การกิน gudeg นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือน้ำราด เรียกว่า Areh ซึ่งเคี่ยวมาจากน้ำกะทิ นอกจากนั้นยังมี sambel goreng krecek มันคือ หนังวัวกรอบ การกิน gudeg นั้น จะกินกับไก่ ไข่ เทมเป และเต้าหู้ โดยไก่ ไข่ เทมเป และเต้าหู้นั้น เครื่องปรุงและวิธีการปรุงจะเหมือนกับการทำน้ำราด สีจะออกน้ำตาลไหม้ 

แปลจาก alifanuraniputri.wordpress.com 

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอินโดนีเซีย


Raja Bhumibol tampak bersama Prof. Prijono, dan Sri Sultan Hamengku Buwono IX di akademi militer nasional.


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร กับ Prof. Prijono และองค์สุลตาน Hamengku Buwono IX ที่ค่ายฝึกทหารแห่งชาติ


Raja Bhumibol memberi sambutan di akademi militer nasional



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ให้โอวาทที่ค่ายฝึกทหารแห่งชาติ

Pemberian kenang-kenangan kepada Raja Bhumibol.


เจ้าหน้าที่มอบของที่ระลึกแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิต

Raja Bhumibol memberi sambutan setelah penyerahan kenang-kenangan


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิต ให้โอวาทหลังจากเจ้าหน้าที่ถวายของที่ระลึก 

Bhumibol Adulyadej beramah-tamah dengan beberapa senat di akademi militer nasional di dampingi oleh ri Sultan Hamengku Buwono IX.


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิต พบปะพูดคุยกับคณะที่เข้าเฝ้าที่ค่ายฝึกทหารแห่งชาติ นำโดยองค์สุลตาน Hamengku Buwono IX

Bhumibol memberi sumbangan kepada perhimpunan Bhudist.


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิต ถวายปัจจัยให้กับคณะพระภิกษุที่ดูแลบุโรพุทโธ

Bhumibol sembahyang di depan arca Bhuda Gautama di Candi Borobudur.


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิต ถวายความเคารพต่อพระพุทธรูป Gautama ที่บุโรพุทโธ


Bhumibol dan permaisuri Sirikit tampak mengamati stupa-stupa di puncak Candi Borobudur.


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิต และพระบาทสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทอดพระเนตรชมบุโรพุทโธ 

Sri Sultan Hamengku Buwono IX beramah-tamah dengan Bhumibol dan Sirikit di bangsal Candi Borobudur.


องค์สุลตาน Hamengku Buwono IX พบปะกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิต และพระบาทสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ที่บุโรพุทโธ


ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เพจท่องเที่ยวเมืองยอกยาการ์ตา 

จุดถ่ายรูปโบรโม

Penanjakan1 หรือ บางคนเรียกว่า Gunung Penanjakan เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้น โดยเบื้องหน้าคือ ภูเขาไฟโบรโม Gunung Penanjakan นี้ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2770 เมตร ซึ่งสูงกว่าภูเขาไฟโบรโมเสียอีก สำหรับการเดินทางไปยังจุดชมวิวแห่งนี้ จะต้องเช่ารถจิ๊ป จุดชมวิวจุดนี้ สามารถมองเห็น Gunung Bromo, Gunung Batok, Gunung Kursi และ Gunung Semeru  ( gunung = ภูเขา )
Penanjakan2 จุดชมวิวจุดนี้เคยได้ปิดตัวลงเพราะเหตุการณ์แผ่นดินไถล แต่ได้เปิดให้เข้าชมอีกครั้ง การเดินทางไปยังจุดชมวิวแห่งนี้จะต้องเดินเท้า
Pasir Berbisik ทะเลทรายสีดำ
Tangga หรือ บันได เป็นบันไดที่ใช้ขึ้นไปดูปากปล่องภูเขาไฟ  มีประมาณ 250 ขั้น
ปากปล่องภูเขาไฟ แต่ต้องระมัดระวังอย่างที่สุด
Gunung Batok ภูเขาแห่งนี้อยู่ด้านข้างของภูเขาไฟโบรโม จะมีหญ้าปกคลุมเป็นสีเขียวสด
เนินเทเลทับบี้ ( bukit teletubbies ) หรือ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า padang savana
Pura Luhur Poten วัดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางพิธีกรรมทางศาสนาของหมู่บ้าน Tengger
Puncak B29 หรือ ยอดเขา B29 ยอดเขาแห่งนี้นักท่องเที่ยวยังน้อยอยู่ หากมองจากยอดเขาแห่งนี้ จะเห็น การเกษตร เห็นเขามหาเมรุ ( mahameru ของ gunung semeru )

แปลจาก phinemon.com

โบรโม กับคำถามที่เจอบ่อยๆ

โบรโม สูงจากระดับน้ำทะเล 2.392 เมตร และเป็นภูเขาไฟที่ยังตื่นอยู่ ( active volcano ) ขนาดของทะเลทรายที่อยู่รอบภูเขาไฟนั้นประมาณ 10 กิโลเมตร ช่วงเวลาเช้าตรู่นั้น อุณหภูมิจะประมาณ 2 องศา

  1. วางแผนก่อนเที่ยว  แนะนำว่าให้ไประหว่างเดือนมีนาคม - เดือนตุลาคม
  2. จองที่พักล่วงหน้า แนะนำ รร. cemara indah หรือ รร. bromo otix
  3. เตรียมร่างกายให้พร้อม เพราะต้องเดินขึ้นบันได 250 ขั้นไปดูปากปล่องภูเขาไฟ 
  4. ใส่รองเท้าผ้าที่ถนัดใส่สบายเท้า ใส่แจ็คเกต กางเกงขายาว ไฟฉาย ผ้าปิดปาก แว่นตากันแดด
  5. เตรียมน้ำดื่มและขนมขบเคี่ยว แต่ปกติแล้วหาซื้อได้บริเวณจุดชมวิวอยู่แล้ว
  6. เตรียมเงินรูเปียร์ไปพอประมาณ 

แปลจาก telusurindonesia.com



วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Taman Sari Water Castle

ยอกยา กับสวนน้ำขององค์สุลตาน
Taman Sari Water Castle หรือ สวนขององค์สุลตาน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระราชวัง ห่างประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างช่วงกลางของคศ. 18 ประกอบไปด้วย บริเวณพักผ่อน สถานที่สำหรับนั่งสมาธิ พื้นที่ลับ แต่พังไปด้วยแผ่นดินไหวในปี 1867

การก่อสร้างของ Taman Sari เริ่มในช่วงสุลตาน องค์แรก คือ Hamengkubuwono I ( 1755 - 1792 ) แล้วเสร็จในสุลตานองค์ที่สอง Hamengkubuwono II ภายในอาคารนั้นมีจุดสำหรับอาบน้ำ เรียกว่า Pacethokan Spring โดยมีมาตั้งแต่สมัย Amangkurat IV ( 1719 - 1726 ) แนวคิดนี้มาจาก Tumenggung Mangundipura ผู้ซึ่งเดินทางไปเรียนรู้เกี่ยวกับสถาปัยตกรรมยุโรปที่ฮอลันดา นั้นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม Taman Sari ถึงมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบยุโรป 

Taman Sari ประกอบไปด้วย 59 อาคาร รวมถึงมัสยิด บริเวณนั่งสมาธิ สระว่ายน้ำ และ สวนน้ำ 18 จุด และ ศาลารอบทะเลสาบเทียม 

ประตูทางเข้า

มี 2 ประตูที่นำไปสู่สระอาบน้ำ ประตูทางทิศตะวันตก เรียกว่า Gedhong Hageng ประตูทางทิศตะวันออก เรียกว่า Gedhong Gapura Panggung โดยประตูทั้ง 2 ทิศนั้น ประดับตกแต่งด้วยรูปนกและดอกไม้ 
ประตูทางทิศตะวันตกนั้น ปกติจะใช้เป็นประตูหลักสำหรับไปสระอาบน้ำ ปัจจุบันประตูที่เห็นอยู่ คือ ประตูทางทิศตะวันออกเท่านั้นโดยนักท่องเที่ยวก็เข้าและออกทางประตูนั้น ประตูทางทิศตะวันออกนั้น ประกอบได้ด้วย 4 บันได 2 บันไดทางทิศตะวันออก และ 2 บันไดทางทิศตะวันตก มีพญานาค 4 ตัวตกแต่งอยู่บนประตู ตอนนี้จะเห็นเฉพาะพญานาค 2 ตัวเท่านั้นอยู่ทางด้านซ้าย
ทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ Gedhong Gapuro Panggung มี 2 อาคาร ชื่อว่า Gedhong Temanten สมัยก่อนเป็นอาคารสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 
มีศาลา 4 หลัง ชื่อว่า Gedhong Sekawan จะใช้เป็นที่พักผ่อนของครอบครัวองค์สุลตาน 
สถานที่สำหรับองค์สุลตานใช้สำหรับเลือกนางงาม เรียกว่า Pariraman Umbul Binangun เป็นสถานที่เล่นน้ำของครอบครัวสุลตาน สถานที่แห่งนี้ปิดมิดชิด ประกอบไปด้วย 3 สระด้วยกัน ตกแต่งด้วย แท่งทรงคล้ายเห็ดสำหรับให้น้ำไหลออกมา และมีกระถางต้นไม้ขนาดใหญ่ 

สถานที่แห่งนี้ มี 2 อาคาร ทางทิศเหนือสำหรับใช้พักผ่อนและเปลี่ยนเสื้อผ้า สำหรับลูกๆ และนางสนม ทางทิศใต้เป็นสระ ชื่อว่า Umbul Muncar อาคารถัดไปทางทิศใต้ เป็นอาคารสูง ในสมัยนั้นเฉพาะผู้หญิงและองค์สุลตานเท่านั้นที่เข้าได้ 
Taman Sari มีทะเลสาบเทียม เรียกว่า Segaran มีบางอาคารตั้งอยู่ในทะเลสาบเทียม แต่ละอาคารจะมีอุโมงค์ใต้น้ำเชื่อมต่อกัน ซึ่งจะใช้เป็นทางสำหรับองค์สุลตานหรือครอบครัวใช้เรือเดินทางไปยังสระน้ำใน Taman Sari แต่ปัจจุบันไม่มีน้ำแล้ว แต่อุโมงค์ยังคงมีให้ชมอยู่ 

ตอนกลางของทะเลสาบเทียมจะมีเกาะเทียม เรียกว่า Pulo Kenongo บนเกาะมีอาคาร เรียกว่า Gedhong Kenongo ปัจจุบันได้พังทลายไปแล้ว 
ทางด้านทิศใต้ของเกาะเทียม Kenongo ยังมีเกาะเทียมอีก ชื่อว่า Cemethi เป็นอาคารสำหรับองค์สุลตานนั่งสมาธิ หรือ นัดพูดคุยและเป็นที่สำหรับหลบซ่อนตัวของครอบครัวสุลตาน
ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเทียม Kenongo นั้น มีอาคารทรงกลม เรียกว่า Gumuling สมัยนั้นสามารถเข้าได้จากใต้น้ำเท่านั้น เป็นมัสยิด ใจกลางของมัสยิดจะเป็นพื้นยกและมีบันได จาก 4 ทิศบรรจบกันตรงกลาง ใต้พื้นที่ยกนั้นจะเป็นสระเล็กสำหรับใช้ชำระล้างร่างกาย

แปลจาก skyscrapercity.com