วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Gedong Carik - Taman Sari - Yogyakarta


อาคารหนึ่งที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจที่ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปดูมากนัก หากขึ้นมาจากสระน้ำ จะพบทางแยก ซึ่งด้านหน้าคือ Gedong Gapura Hageng เป็นประตูทางด้านทิศตะวันออก ประดับตกแต่งด้วยรูปนกและดอกไม้  ด้านขวามือ ของประตูคือทางเดินไปยังมัสยิด อาคารที่ผมจะแนะนี้ อยู่ทางด้านซ้ายมือ ชื่อว่า Gedong Carik (คำว่า Carik เป็นภาษาชวา แปลว่า Tulis หรือ เขียน) หากยืนหน้าประตูทางเข้า ด้านขวามือในสมัยก่อนนั้นจะเป็นสวนผลไม้ ส่วนซ้ายมือในสมัยก่อนนั้นจะเป็นสวนผัก Gedong Carik นี้ ผมขอสรุปรวมๆก่อนว่า เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านจะมาขอพบสุลต่าน ภายในจะมีห้องนอน ห้องนั่งสมาธิ ห้องทานอาหาร ห้องเก็บเสื้อผ้า ห้องขับถ่าย

เดินเข้าภายในอาคาร ผมขอเรียกจุดนี้ว่า จุดคัดกรอง คือใครก็ตามที่จะมาขอพบสุลต่าน เพื่อการใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานคอยคัดกรองก่อน เพื่อความปลอดภัยของสุลต่านเอง เดินลงบันไดไป จากนั้นให้เลี้ยวขวา จะพบฐานของอาคารเตรียมอาหาร เครื่องดื่ม ของสุลต่าน อาคารนี้เรียกว่า Gedong Garjitowati รอบๆอาคารนั้นสมัยก่อน จะเป็นสวนสัปรด
เดินผ่านอาคารไปทางด้านซ้ายมือ จะพบกับฐานของห้องทานอาหารของสุลต่าน หากมองไปด้านข้างของตัวฐานคาร จะเห็นบันได หากเดินขึ้นไปนั้น จะพบกับห้องเก็บร่ม เป็นร่มที่ใช้กางตอนที่สุลต่าน หรือ มหาสี เดินออกมากลางแจ้ง อาคารเก็บร่มนั้น เรียกว่า อาคาร Gedong Song Song ( Song Song เป็นภาษาชวา แปลว่า Bayung หรือ ร่ม ) ส่วนคนที่ถือร่มนั้น เรียกว่า Penongsong
เดินลงบันไดมาที่ด้านล่าง ทางขวามือ คือ Gedong Ledok Sari, Ledok เป็นภาษาชวา แปลว่า Rendah แปลว่า ล่าง ส่วนคำว่า Sari เป็นภาษาชวาแปลว่า Indah หรือ งดงาม สวยงาม หากแปลรวมๆก็คือ อาคารด้านล่างที่มีความสวยงาม สถาปัตยกรรมของอาคารนี้ ประกอบด้วยสัญลักษณ์ ของ 3 ศาสนาด้วยกัน คือ ฮินดู พุทธ และอิสลาม
สัญลักษณ์ของศาสนาอินดูนั้น จะอยู่บนหลังคาทั้งสองข้างของอาคาร มีชื่อเรียกว่า Betorokolo 
สัญลักษณ์ของศาสนาพุทธนั้น เป็นอาคารที่อยู่ด้านหน้า คล้ายวิหารของวัดบ้านเรานั้นเอง
ส่วนสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลามนั้น เรียกว่า Kablat 4 Lima Pancer เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อให้เห็นว่า 
ชาวมุสลิมนั้น จะต้องละหมาดต่อวัน 5 เวลาด้วยกัน


ทำไม Betorokolo ถึงอยู่บนหลังคา เพราะว่าศาสนาอินดูเกิดขึ้นก่อน จากนั้นจึงเกิดศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม สัญลักษณ์เลยอยู่ล่างสุด

หากมองไปด้านหน้า ซ้ายมือ คือ ห้องพักทหาร ขวามือคือห้องเตรียมอาหาร


ห้องพักทหารนั้น ภายในจะมีสองห้อง ซึ่งจะเป็นที่นั่งพักทหารทั้งสองห้อง แต่ละห้องสามารถบรรจุทหารได้ 10 นาย ใต้ที่นั่งจะเห็นเป็นช่อง เอาไว้สำหรับสุมไฟหากอากาศหนาว


ตัวอาคารทั้งหมดก่อสร้างโดยใช้ Karpur (หินปูน) + Pasir (ทราย) + Batu Bata Merah (หินแดงบดละเอียด) + Air Laken (น้ำผึ้ง) / Air Tebu (น้ำตาลโตนด) ผสมกันเพื่อใช้ในการสร้างอาคาร


ส่วนต่อไปคือ ผมขอเรียกว่าวิหาร หรือ อาคารพุทธ หากเข้ามาจะเห็นซากของฉากกั้น เนื่องจากห้องนั้น ประตูของวิหาร จะอยู่ตรงกับทางเข้าออกของอาคาร Gedong Ledok Sari โดยมีความเชื่อว่า หากไม่มีอะไรมากั้นไว้ จะทำให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาภายในห้องได้


เดินตรงเข้าไปจะพบซากหลังฉากกั้น (Teral) จะเป็นห้องบรรทมของสุลต่าน และมเหสี โดยมีเตียงแยก ซ้าย ขวา ตอนนี้ให้เราหันหน้าออกมาด้านนอก โดยสุลต่านจะนอนเตียงทางขวา ส่วนมเหสีจะนอนเตียงทางซ้ายมือ (นอนแยกเตียง) ห้องนี้จะใช้เป็นห้องสมาธิด้วยเช่นกัน หากมองดูรูปเตียง จะพบว่า มีช่องอยู่ เพื่อใส่น้ำหากอยู่ในฤดูร้อน และจะสุมไฟ หากฤดูหนาว
ด้านข้างของเตียง จะเป็นปูนปั้นลายดอกไม้ จากรูปก้านดอก หรือ Larjal  สื่อถึง ปีที่ 1000 จงอยปากนกที่กำลังดูดน้ำจากดอกไม้ หรือ Sina Sap Paksi โดย Sina Sap หรือจงอยปากนก สื่อถึง ปีที่ 600 ส่วน Paksi หรือ นก สื่อถึง ปีที่ 1 ส่วนดอกไม้ หรือ Sergal สื่อถึง ปีที่ 90 รวมแล้วภาพนี้สื่อถึง ปีที่สร้าง Taman Sari แล้วเสร็จ คือปี 1691

ส่วนลายปูนปั้นที่สื่อถึงปีที่เริ่มสร้าง Taman Sari จะอยู่ที่ ประตู Gedong Gapura Hageng คือ ปี 1684
การที่สุลต่าน ไม่นอนเตียงเดียวกับมเหสี และไม่นั่งสมาธิพร้อมกับมเหสี เนื่องจากว่า ไม่ค่อยไว้ใจ เกรงถูกลอบปรงพระชนย์

หากสังเกตุประตูทุกประตูจะเห็นว่า สั้น /เตี้ย เนื่องจากว่า วัฒนธรรมของชวานั้น ต้องการสอนให้คนรู้จักการอ่อนน้อม เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้ม ไม่ว่าผู้นั้นจะมียศใหญ่แค่ไหนก็ตาม และในสมัยก่อน จะไม่มีบานตูปิด จะใช้เพียงแต่ม่านปิดเท่านั้น

ห้องถัดไป หากสุลต่าน หรือ มเหสี ต้องการนอนเตียงเดียวกัน เตียงจะเป็นลักษณะตัวเอล โดยสุลต่านและมเหสีจะหันศรีษะไปคนละด้าน โดยปลายเท้าจะชนกัน การนอนแบบนี้นั้น เนื่องจากในสมัยก่อนมีการเล่นคุณไสยกันมาก หากนอนติดกัน คุนไสยจะเข้าตัวได้ง่ายกว่าการนอนแบบนี้
มุมห้องจะมีที่ตั้งตะเกียง เรียกตะเกียงนั้นว่า Pelita ใส้ตะเกียงใช้ผ้า และใช้น้ำมันมะพร้าวในการจุด เนื่องจากจะไม่มีควัน

ห้องกลางคือห้องผ้า ถัดไปคือห้องสุขา ห้องสุขานั้น เป็นสุขารวม สำหรับสุลต่านและมเหสีใช้ร่วมกันเท่านั้น ที่นั่งสำหรับถ่าย จะแยกซ้าย ขวา ตรงกลาง คือ ทางน้ำไหล 
ห้องทางด้านขวามือ (หันหน้าเข้าในอาคาร) คือห้องเก็บกริช หรือเครื่องแต่งกาย ภายในห้องนั้นจะมีสุขเช่นเดียวกัน จะใช้ก็ต่อเมื่อ คนใดคนหนึ่ง กำลังนั่งสมาธิเท่านั้น และเข้าต่อครั้งได้คนเดียวเท่านั้น ภายในห้องนี้ จะมีที่นั่งอบไอน้ำด้วย โดยนั่งบนแคร่ที่สานด้วยไม่ไผ่ เพื่อให้ไอน้ำผ่านขึ้นมาได้ ส่วนใหญ่จะนั่งอบไอน้ำหลังจากนั่งสมาธิเสร็จแล้ว

อาคารถัดไปจะอยู่ข้างบ่อน้ำ ภายในห้องด้านขวานั้นคือ ที่ตั้งของเตรียมปรุงอาหาร ถัดไปเป็นที่ล้างทำความสะอาด ถัดเข้าไปอีกห้องด้านใน จะเป็นเตา ภายในเตาข้างขวาล่าง จะมีรูสำหรับทิ้งเศษอาหาร ถัดไปด้านข้างจะเป็นทางน้ำไหล ข้างเด้านซ้ายมือ จะเป็นที่ตั้งของอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว
ห้องถัดไปจะมีที่ตั้ง จุดนั้น อาหารที่ทำเสร็จแล้วทั้งหมด จะเอามาวางเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งไปยังห้องทานอาหารของสุลต่าน

ขอขอบคุณ Bapak Wedana Jamadinura ผู้ให้ข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น