วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

พราหมณ์กับปู ของ Candi Mendut


ชาดกเรื่อง พราหมณ์กับปู ที่ “วิหารจันทิเมนดุต”
.
.
.
ภาพสลักนูนต่ำ บริเวณผนังกำแพงของราวบันไดลานประทักษิณ ฝั่งทิศเหนือ ที่ “วิหารจันทิเมนดุต” (Chandi Mendut Vihara) บนเกาะชวา สลักเล่าเรื่องราวชาดก อันเป็นเรื่องเล่าเพื่อการสั่งสอนธรรมโดยอาศัยนิทานเรื่องเล่าเป็นเครื่องมือ ไว้หลายตอน
..
..
กรอบหนึ่ง เล่าเรื่อง “พราหมณ์กับปู” (The Brahmin and the Crab) มีเนื้อเรื่องว่า
.
กาลครั้งหนึ่งพราหมณ์ “ทวิจิตวารา” นั่งสมาธิอยู่บนภูเขาสูง ได้มาพบกับปู “อัสทะปาดา” ที่กำลังกระหายน้ำใกล้จะตาย พราหมณ์จึงนำผ้ามาห่อปู แล้วจึงนำลงมาจากภูเขามายังแม่น้ำ แล้วปล่อยให้ปูว่ายน้ำไป พราหมณ์มีความสุขในการช่วยชีวิตสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน
… 
ด้วยความเหนื่อยอ่อน พราหมณ์จึงนอนพักและหลับไปบนหินใหญ่ ที่ริมน้ำนั้น 
.....
งูมาจากพุ่มไม้ และอีกาบนต้นไม้ แอบเฝ้าดูพราหมณ์อยู่ สัตว์ชั่วร้ายทั้งสองวางแผนจะกินพราหมณ์
.
"(งู) ฉันจะกินเนื้ออร่อยของเขา (กา) แต่ดวงตาของเขาเป็นของฉันนะ”
.
"มันเป็นการแบ่งปันที่ดีนะอีกา เอาล่ะ ฉันจะเลื้อยไปหักกระดูกของเขาก่อน " งูกล่าว
......
ปูอัสทะปาดา ได้ยินเสียงการสนทนาของงูและกา จึงขึ้นมาจากแม่น้ำ
.....
"พวกเจ้ายังกินเขาไม่ได้นะ” แล้วปูจึงเสนอกากับงูว่า “ข้ามีเวทมนตร์ที่จะทำให้คอของพวกเจ้ายาวขึ้น ช่วยให้เจ้าเพลิดเพลินกับการกินเนื้อเขา มันจะอร่อยมากขึ้นหากเมื่อพวกเจ้าได้เลี้ยงรสชาติไว้ด้วยคออันยาว” 
....
ทั้งงูและกาตกลง จึงยื่นคอให้ยาวขึ้นมาที่ปูเพื่อรับเวทมนตร์ อัสทะปาดาจึงใช้โอกาสนี้ตัดคอของพวกเขาด้วยก้ามอันแข็งแรง
.....
พราหมณ์ตื่นมาเห็นเหตุการณ์ ปูอัสทะปาดาจึงกล่าวแก่พราหมณ์ทวิจิตวารา ว่า
"ท่านได้ช่วยชีวิตเราเอาไว้ คราวนี้เราขอตอบแทนด้วยการช่วยชีวิตท่าน " 
..
..
*** “การกระทำความดี ย่อมได้รับการตอบแทนด้วยความดีเสมอกัน....อย่างแน่นอน”
...
.
..
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

เรื่องราว “ห่านฟ้าและเต่า” ของ Candi Mendut


ชาดกเรื่อง “ห่านฟ้าและเต่า”

...
เรื่องราวของภาพสลักนูนต่ำ ข้างราวบันไดทางขึ้น “วัดจันทิเมนดุต” (Chandi Mendut Vihara) บนเกาะชวา
....
.....ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภพระโกกาลิกะผู้เดือดร้อนเพราะปากไม่ดีว่า ...
...
“....เมื่อครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นมหาอำมาตย์ สอนธรรมแก่พระเจ้าพรหมทัตผู้ครองเมืองพาราณสี โดยปกติพระราชาเป็นคนพูดมาก พูดไม่เพราะและไม่มีหางเสียง เสนาอำมาตย์พยายามหากลอุบายกล่าวตักเตือนพระองค์อยู่เสมอ แต่ก็ไม่สามารถห้ามปราบพระองค์ได้ พระโพธิสัตว์มหาอำมาตย์จึงเล่าเรื่องถวายว่า
...
“....มีสระน้ำแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์ มีเต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ มันเป็นเพื่อนกันกับลูกห่านฟ้า 2 ตัว
วันหนึ่ง ลูกห่านฟ้าได้มาเยี่ยมเต่าและได้ชวนมันไปเที่ยวที่ถ้ำทอง โดยให้เต่าคาบไม้ไว้แล้วหงส์จะคาบปลายทั้งสองข้างบินไป แต่ก่อนไปได้ตกลงกับเต่าว่า 
...
“เต่าเจ้าเอ๋ย เจ้าต้องอดทนไม่พูดอะไรเลย จนกว่าจะถึงถ้ำของเรานะ มิเช่นนั้นท่านจะต้องร่วงลงพื้นดิน” เต่ารับคำอย่างมั่นเหมาะ แต่พอห่านฟ้าบินผ่านเมืองพาราณสี ผู้คนพยายามยิงธนูหน้าไม้ แต่ก็ไม่โดน จึงตะโกนยั่วยุว่า 
...
“เฮ้ ๆ พวกเรามาดูห่านฟ้าหามเต่า เร็วเข้า เต่ามันไม่มีปัญา ต้องให้ห่านฟ้าช่วยเหลือ” 
...
เต่าได้ฟังเช่นนั้นก็บังเกิดอารมณ์ไม่พอใจในคำยั่วยุ จึงเผลออ้าปากพูดว่า “พวกเจ้าจะไปรู้อะไร เราต่างหากที่กำลังหามห่านฟ้าไป” เมื่อเต่าอ้าปากพูด มันจึงหลุดออกจากไม้ที่มันได้คาบเอาไว้ แล้วร่วงจากฟ้าตกลงไปยังพื้น ชาวบ้านจึงช่วยกันจับเต่าฆ่ากิน...”
.....
ขณะที่พระโพธิสัตว์กำลังเล่าเรื่องจนจบนั้น มีเสียงอื้ออึงมาว่า “มีเต่าตกจากท้องฟ้าลงมาตายตัวหนึ่ง” อำมาตย์ทั้งหลายพร้อมด้วยพระเจ้าพรหมทัตจึงเสด็จไปที่นั้น พระราชาตรัสถามถึงสาเหตุที่เต่าตกลงมาตาย พระอำมาตย์โพธิสัตว์ได้โอกาส จึงให้โอวาทพระเจ้าพรหมทัตเป็นว่า
...
“เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนเองแล้วหนอ เมื่อคาบท่อนไม้อยู่ดีแล้ว กลับฆ่าตนเองเสียด้วยคำพูดของตนเองนั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐในหมู่วีรชน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เห็นเหตุวันนี้แล้วควรพูดให้ดี ไม่ควรพูดด้วยอารมณ์หุนหัน ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรเต่าผู้ถึงความพินาศเพราะการพูดเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
...
พระราชาทราบว่ามหาอำมาตย์กำลังพูดถึงพระองค์ จึงตรัสถามขึ้นอย่างว่า “ที่ท่านพูดหมายถึงเราใช่ไหม ?” อำมาตย์โพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า
...
“มหาราชา..ไม่ว่าจะเป็นพระองค์หรือใครคนไหน ๆ ก็ตามที หากเมื่อพูดเกินประมาณ ....ย่อมถึงแก่ความพินาศด้วยกันทั้งสิ้น” 



วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บาหลี! กับสิ่งที่ควรรู้ก่อนไป

สำหรับชาวบาหลีแล้ว ถึงแม้เกาะบาหลีจะเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านของยุคแล้ว ประกอบกับธุรกิจท่องเที่ยวของเกาะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีวันไหนเลยที่พวกเขาจะลืมกราบไหว้สิ่งที่พวกเขานับถือ

เราเป็นนักท่องเที่ยว เราต้องเรียนรู้ ขนบธรรมเนยมและประเพณีของแต่ละสถานที่ที่เราไป สิ่งที่สามารถทำ และสิ่งที่ห้ามทำ ผมเลยขอแชร์ข้อมูลเพื่อเป็นความรู้ก่อนที่เราจะเดินทางไปบาหลีกัน

เมื่อเราไปเที่ยววัดบาหลี

1. ต้องนุงโสร่งและใช้ผ้าคาดเอวให้เรียบร้อย
2. ห้ามใส่เสื้อกล้าม
3. ผู้หญิงที่ีมีประจำเดือนห้ามเข้าวัดบาหลีเด็ดขาด
4. ห้ามใช้เท้าชี้ไปตามสถานที่ต่างๆของวัด หรือ แม้แต่สิ่งต่างๆนอกวัด
5. ห้ามนั่งสูงกว่านักบวช
6. ห้ามรบกวนเมื่อเห็นมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
7. ห้ามเดินผ่านด้านหน้าของผู้ที่กำลังสวดมนต์
8. ห้ามเหยียบของกราบไหว้ที่ตั้งอยู่ตามพื้น

เมื่อพบหรือต้องพูดคุยกับคนพื้นเมืองบาหลี

1. ห้ามจับ แตะ ศรีษะ
2. ห้ามแตะ ส่ง ให้ ของด้วยมือซ้าย
3. ห้ามใช้นิ้ว ชี้ไปตามจุดต่างๆ
4. อย่าลืมยิ้มให้กัน
5. เมื่อทานอาหารกับคนท้องถิ่น อย่าทานอาหารให้เกลี้ยงจาน ให้เหลือไว้ในจานเล็กน้อย เพื่อเหลือไว้ให้แก่สิ่งศักดิ์ที่ชาวบาหลีเคารพและเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า อาหารที่ให้มาเยอะมากพอ

เมื่อต้องซื้อของตามตลาดพื้นเมืองที่บาหลี

1. ของที่ขายอยู่ตามตลาดพื้นเมือง เป็นราคาที่ไม่ตายตัว สามารถลดได้ แต่อย่าพยายามขอราคา หากไม่ต้องการซื้อจริงๆ
2. อย่าต่อราคาให้ต่ำมากเกินไป เพราะบางครั้งเงินจำนวนนั้น ชาวบาหลีถือว่ามากเกินไป 

แปลมาจาก nowbali.co.id

Bali Walking Streets

ถนนคนเดินบาหลี

1. Kuta beach walking street / Jalan Pantai Kuta หรือ บริเวณถนนกูเตอ เริ่มจากสี่แยก Bemo Corner เป็นถนนที่ต้องเดินรถทางเดียว ส่วนใหญ่เป็นร้านขายเสื้อผ้า ของที่ระลึกต่างๆ ร้านอาหารที่ตกแต่งคล้ายๆกับร้านอาหารในเมือง สำหรับผมแล้วไม่ค่อยน่าสนใจมากเพราะดูแล้วเหมือนสินค้าในเมืองใหญ่ ไม่มีเอกลักษณ์ แผนที่ Kuta Beach Walking Street

2. Ubud shopping street / Jalan Raya Ubud หรือบริเวณถนนอูบุด เป็นตลาดซื้องานศิลปะหัตถกรรมหลักของบาหลี แม้กระทั้งเสื้อผ้า สโหร่ง ภาพวาด ที่เป็นเอกลักษณ์ ( งานทำมือ ) งานที่มีชิ้นเดียว ความยาวของถนนประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากนั้น แหล่งท่องเที่ยวใกล้ ตลาดอูบุต ได้แก่ Puri Saren Royal Palace เป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นสมัย Tjokorda Putu Kandel (1800-1823), Monkey Forest Road มีร้านเสื้อผ้าบูติก ร้านขายของที่ระลึกแบบ handmade ห้องพักราคาถูก ร้านอาหารและสปา ที่ออกแบบร้านมาให้เข้ากับบรรยากาศของอูบุด แผนที่ Ubud Walking Street


3. Poppies Lane Walking Streets หรือ ซอย Poppies มี 2 ซอย คือ ซอย Poppies I และ Poppies II ถึงแม้ไม่ใช่ถนนสำหรับชอปปิ้ง แต่ถนน หรือ ซอยนี้ มีห้องพักราคาถูกไว้ให้บริการหลากหลาย และเป็นซอยที่ตรงไปยังหน้าหาดกูเตอ เดินเท้าประมาณ 5-10 นาที นอกจากห้องพักหรือโรงแรมราคาย่อมเยาว์แล้ว ยังเป็นซอยหลักของนักเล่น surf board ด้วย แผนที่ Poppies Lane Walking Streets

4. Jalan Legian (ถนนลีเกียน) เหมาะสำหรับชอปปิ้งและเดินเที่ยวในยามค่ำคืน มีร้านค้า บาร์ ร้านอาหาร โรงแรม มากมายหลายระดับราคา ถนนเส้นนี้สามารถเดินไปถึงถนนกูเตอและเซอมินยัก เดินไปสุดถนนทางทิศใต้ จะพบกับอนุสรย์สถาน หรือที่เรียกว่า Ground zero ตลาดที่แนะนำสำหรับถนนเส้นนี้คือ ตลาด Merta Nadi Art ( Road SideArt Shop ) แผนที่ Jalan Legian

5. Garlic Lane (Jalan Sahadewa) ถนนเส้นนี้ยาวประมาณ 200 เมตร มีร้านค้าให้เลือกซื้อมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้าแนวบูติก สินค้าแกะสลักจากไม้ ถนนเส้นนี้น่าจะเป็นถนนเส้นเดียวที่ต่อรองราคาได้ง่ายที่สุดหากเทียบกับกูเตอ แผนที่ Garlic Lane

6. Jalan Petitenget ถนนชอบปปิ้งเส้นนี้อยู่ที่บริเวณ Seminyak เป็นที่ตั้งของ beach club, ร้านอาหาร บาร์ มากมาย แผนที่ Jalan Petitenget 

7. Jalan Raya Kerobokan เป็นถนนสำหรับขายของใช้ภายในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ งานศิลปะของตกแต่งบ้าน เครื่องแก้ว รูปปั้นต่างๆ แผนที่ Jalan Raya Kerobokan

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

รู้จักบาหลี ก่อนไปบาหลี

บาหลีใหญ่ขนาดไหน!
ที่มา : http://balikidsguide.com/moving-to-bali-important-factors-to-consider-before-the-big-move/
บาหลีมีลักษณะเป็นเกาะและเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย บาหลีได้ได้การโหวตให้เป็นเกาะที่ดีที่สุดในโลก โดย tripadvisor 2017 ชาวบาหลีเรียกเกาะแห่งนี้ว่า เกาะของพระเจ้า บาหลีประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นเกาะบาหลีเอง และเกาะอื่นๆล้อมรอบ ไม่ว่าจะเป็น Nusa Penida, Nusa Lembongan และ Nusa Ceningan บาหลีตั้งอยู่ระหว่างชวาตะวันตกและเกาะลอมบอกตะวันออก โดยมี Denpasar เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเกาะบาหลี

ความยาวของเกาะหากวัดจากทิศตะวันออกไปจนถึงทิศตะวันตกนั้น ประมาณ 153 กิโลเมตร กว้างประมาณ 112 กิโลเมตร วัดจากทิศเหนือลงมาถึงทิศใต้ ประชากรบนเกาะมีประมาณ 4,225,000 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก 80%, 14% เป็นมุสลิม, 2.5% เป็นคริสเตียน และนับถือศาสนาพุทธมีประมาณ 0.5% ความหนาแน่นของประชากร ประมาณ 750 คนต่อ 2 ตารางกิโลเมตร

เมืองภายในเกาะบาหลีที่ใหญ่ที่สุดคือ เมืองหลวง หรือ Denpasar ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะ มีประชากรราว 577,000 คน บาหลีมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สอง ของจังหวัดที่เคยถูกปกครองด้วย Singaraja ที่ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางทิศเหนือของเกาะ และมีประชากรอาศัยอยู่ราว 100,000 คน แหล่งรวมตัวนักท่องเที่ยวที่สำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Denpasar คือ Kuta และ Ubud ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของ Denpasar 

แปลจาก balipedia.com

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โกตา เกอเดะ (KOTAGEDE)

อดีตอาณาจักรมาตาราม ในศตวรรษที่ 16
แหล่งที่มา http://www.panduanwisatajogja.com/mengunjungi-kota-tua-di-kotagede/
โกต้า เกอเดะ (Kota Gede) บางครั้งจะเรียกว่าเป็นเมืองหลวงเก่า เพราะครั้งหนึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นอาณาจักรของอิสลามมาตาราม ก่อนหน้านี้สถานที่แห่งนี้เป็นป่าที่เรียกว่า Mentaok Alas ถูกเรียกโดยสุลต่าน Panembahan Senopati Pajang กษัตริย์แห่งอาณาจักรฮินดูในชวาตะวันออก

ในปี 1575 สุลต่าน Panembahan Senopati ได้กลายเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรมาตารามองค์แรก เป็นผู้สร้างเมืองแห่งนี้ จนได้กลานมาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมาตารามในปี 1640 หลังจากนั้น กษัตริย์ของอาณาจักรมาตารามองค์ที่ 3 ที่ชื่อว่า Sultan Agung ได้ย้ายเมืองหลวงไปที่ Kerto เมืองหลวงแห่งใหม่นี้อยู่ทางทิศตะวันตกของโกตา เกอเดะ ไป 6 กิโลเมตร หลังจากย้ายไปแล้ว สิ่งก่อสร้างหรือสถาปัจยกรรมต่างๆ ได้ถูงทิ้งให้รกร้างอยู่ที่โกตา เกอเดะแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหลุมฝังศพของกษัตริย์ Senopati ท้องพระโรงหลวง สระอาบน้ำ มรดกที่ถือว่าสำคัญที่ยังมีอยู่ และยังสามารถใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ มัสยิดโกตา เกอเดะ ประมาณ 200 เมตร ห่างจากตลาดพื้นเมืองไปทางทิศใต้ โดยเปิดให้เข้าชม ทุกวันจันทร์และวันพุธ เริ่มจากเวลา 10.00-12.00 น. และวันศุกร์ เวลา 13.00-15.00 น. ผู้เข้าชมจะต้องสวมใส่ชุดชวา แบบบาติก หรือสามารถเช่าได้ในบริเวณนั้น นอกจากนั้นยังสามารถพบกับตึกเก่าแก่ บ้านของคนพื้นเมือง (Kalang) โดยชาวบ้านบริเวณนั้นจะประกอบอาชีพแกะสลักไม้และทอง พวกเขามาจาก อาณาจักรฮินดูมัชปาหิต ในชวาตะวันออกของบาหลี
ปี 1700 หมู่บ้าน Kalang ได้กลายเป็นหมู่บ้านที่ร่ำรวย เนื่องจากการประกอบอาชีพดังกล่าว พวกเขาสร้างบ้านในรูปแบบชวาฮินดู หลังจากนั้นในช่วงปี 1800-1900 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการสร้างบ้าน โดยรวมสถาปัตยกรรมบ้านแบบชวา (Joglo) โดยใช้ในการก่อสร้างมัสยิด และเครื่องประดับแบบอาหรับ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้เกิดขึ้นในช่วงปี 1920-1930 เมื่อหมู่บ้าน Kalang ได้ถูกครอบครอง หรือถูกยึดครองโดยชาวดัตช์ ในระยะเวลานั้น หมู่บ้าน Kalang ได้มีสถาปัตยกรรมใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า European Baroque ซึ่งปัจจุบันยังคงมีเหลือให้เห็นอยู่ที่บ้านของครอบครัว Pawiro Sentiko
บ้านของชาวบ้านในบริเวณ โกตา เกอเดะ เราจะเรียกว่า “Village Square” โดยบ้านจะถูกสร้างขึ้นบริเวณที่แคบๆ ถนนเข้าหมู่บ้านหรือซอยจะแคบมาก โดยหลังคาจะชิดกันมากหรือบ้างบ้านจะทับซ้อนกันเลยทีเดียว และในบริเวณโกตา เกอเดะ จะพบกับช่างทำเครื่องเงินมากมาย และมีชื่องเสียงมาก หากไปท่องเที่ยวในบริเวณโกตา เกอเดะ ก็จะได้พบกับตลาดพื้นบ้าน
โดยระบบเมืองของอาณาจักรชวา มักจะอยู่ในลักษณะของวัง และมีตลาดในแนววางตัวทิศใต้ ทอดยาวไปทางทิศเหนือ จากหนังสือ Nagarakertagama ซึ่งกล่าวถึงสมัยอาณาจักรมัชปาหิต หรือในศตวรรตที่ 14 จนกระทั่งถึงสมัย Panembahan และจนถึงปัจจุบัน กล่าวว่ารูปแบบเมืองแบบนั้นยังคงเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งของตลาด หรือการวางรูปแบบของตลาดและวัง หากใครที่ต้องการค้นหาโกตา เกอเดะ จะต้องเริ่มจากตลาดพื้นเมืองแห่งนี้และเดินต่อไปทางทิศใต้ ก็จะพบกับสุสาน ซากปรักหักพังของป้องปราการและกำแพงที่ปกคลุมด้วยต้นไทร
สุสานบรรพบุรุษของอาณาจักมาตาราม เดินไปทางทิศใต้ของโกตา เกอเดะ ประมาณ 100 เมตรจากตลาดพื้นเมือง จะพบกับสุสานของบรรพบุรุษมาตาราม ซึ่งห้องล้อมไปด้วยกำแพงสูงและแข็งแรง สถาปัตยกรรมเป็นแบบฮินดู มีลายแกะไม้ด้วยไม้ที่สวยงาม และจะมีผู้ดูแลสถานที่แห่งนี้ด้วยการแต่งกายแบบชวาตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง เราจะต้องเดินทาง 3 ส่วน ด้วยกันกว่าจะถึงสุสานหลวง และก่อนเข้าสุสานหลวงเราจะต้องสวมชุดชวาเสียก่อนเพื่อแสดงถึงการเคารพต่อสถานที่และเคารพต่อบรรพบุรุษ นักท่องเที่ยวอนุญาตให้เข้าสุสานหลวงแห่งนี้ได้ในวันอาทิตย์ วันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. และไม่อนุญาตให้มีการถ่ายรูปแต่ประการใด หรือสวมใส่เครื่องประดับที่ประกอบด้วยทอง
มัสยิดโกตา เกอเดะ ซึ่งถือว่าเป็นมัสยิดที่เก่าแก่สุดของเมืองยอคยาการ์ต้า ตั้งอยู่ก่อนที่จะถึงสุสานหลวง
บ้านพื้นเมือง ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือก่อนที่จะเข้าไปสุสานหลวง หรือเดินไปอีก 50 เมตรไปทางทิศใต้ ก็จะพบกับบ้านเก่าแก่ในรูปแบบชวาโกตา เกอเดะ ซึ่งมีที่เดียว

พรัมบานัน (Prambanan) วัดฮินดูสวยที่สุดในโลก

เทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย

แหล่งที่มา https://panasonic.net/ecosolutions/lighting/in/solutions/candiprambanan.html
พรัมบานัน (Prambanan) เป็นอาคารที่สวยงามสร้างขึ้นในศตวรรษที่สิบ ในช่วงรัชสมัยของกษัตริย์สององค์ คือ Rakai Pikatan และ Rakai Balitung มีความสูง 47 เมตร (สูงกว่าบุโรพุทธโธ 5 เมตร) พรัมบานัน (Prambanan) ผู้ก่อสร้างต้องการสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของชาวฮินดูในเกาะชวา พรัมบานัน (Prambanan) ห่างจากตัวเมืองยอคยาร์ต้าประมาณ 17 กิโลเมตร

พรัมบานัน คือ เทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในเขตชวากลาง ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตา ไปทางตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร ตัววัดนั้นสร้างขื้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นานตัววัดก็ถูกทอดทิ้ง และถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จนเมื่อถึงปี พ.ศ.2461(ค.ศ. 1918) จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมาการบูรณะของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) ในปัจจุบันพรัมบานันถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลก และนับได้ว่าเป็นหนึ่งในศาสนสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร ตำนานพื้นบ้านเกี่ยวกับเจดีย์ปรัมบานันกล่าวไว้ดังนี้

ตำนานพรัมบานัน (Prambanan)

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ แคว้นปรัมบานัน บนเกาะชวา มีอาณาจักรอินดู ที่มีอำนาจอยู่ 2 แห่งคือ อาณาจักรเปิงกิงและอาณาจักรโบโก อาณาจักรเปิงกิงเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรื่อง และมีความอุดมสมบูรณ์ปกครองโดยกษัตริย์ที่ฉลาดหลักแหลมผู้มีนามว่า ปราบู ดามาร์ โมโย ซึ่งมีโอรสเพียงองค์เดียวนามว่า เจ้าชาย ระเด่น บันดุง บอนโดโวโซ ส่วนอาณาจักรโบโก ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของณาจักรเปิงกิง ปกครองโดยพระเจ้าปราบู โบโก ผู้ยะโสโอหังและโหดเหี้ยมดังยักษ์มารชอบกินเนื้อมนุษย์เป็นอาหาร พระเจ้าปรา บู โบโก มีราชธิดาผู้มีความงดงามราวกับเทพธิดาจากสรวงสวรรค์นามว่าเจ้าหญิงโลโร จองกรัง

พระเจ้าปราบู โบโก มีความต้องการที่จะรุกรานและยึดอาณาจักรเปิงกิงไว้ในอำนาจ จึงสมคบคิดกับอำมาตย์คู่ใจผู้โหดเหี้ยมไม่ต่างกันชื่อว่า อำมาตย์กูโปโล ทำการเกณฑ์ชายหนุ่มมาฝึกให้เป็นไพร่พลทหาร และระดมทรัพย์สินของชาวบ้านเพื่อใช้ในการทำสงคราม

เมื่อเตรียมการจนพร้อมสรรพแล้ว จึงยกทัพเข้ารุกรานอาณาจักรเปิงกิง สงครามที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายแก่ทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวเมืองเปิงกิง ต้องทนทุกข์ทรมารกับความยากจนและหิวโหย เมื่อพระเจ้าดามาร์ โมโย รับรู้ถึงความลำบากของประชาชน จึงมีรับสั่งให้เจ้าชายระเด่นบันดุงยกทัพเข้าต่อสู้กับพระเจ้าปราบูโบโกด้วยเหตุที่เจ้าชายระเด่นบันดุงเป็นผู้มีฤทธิ์เดช จึงสามารถสังหารพระเจ้าปราบูโบโกลงได้ อำมาตย์กูโปโลเมื่อเห็นกษัตริย์ของตนถูกสังหารจึงถอยทัพกลับเข้าเมือง พร้อมทั้งแจ้งกับเจ้าหญิงโลโรว่า พระราชบิดาของนางได้ถูกสังหารโดยเจ้าชาย ระเด่นบันดุง ทำให้เจ้าหญิงโลโร เสียใจเป็นอย่างมาก
หลังจากมีชัยชนะต่อพระเจ้าปราบูโบโก เจ้าชายระเด่นบันดุง ก็ยกทัพติดตามอำมาตย์กูโปโลไปจนถึงในเมือง เมื่อพบเห็นเจ้าหญิงโลโร ผู้งดงามราวกับนางฟ้า ก็เกิดหลงรักอยากจะรับนางเป็นภรรยา แต่เจ้าหญิงโลโร ไม่ต้องการเนื่องจากเจ้าชายระเด่น บันดุงเป็นผู้ที่สังหารบิดาของตน จึงกำหนดเงื่อนไขขึ้นมาสองข้อ หากเจ้าชายสามารถทำตามเงื่อนไขนางจึงจะยอมแต่งงานด้วย เงื่อนไขข้อแรก คือ ให้ขุดสระน้ำขนาดใหญ่ภายหลังได้ชื่อว่า ซูมูร์ จาลาตุนดา (sumur Jalatunda) เงื่อนไขที่สอง คือ จะต้องสร้างเจดีย์ 1,000 องค์ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งคืน เจ้าชายระเด่น บันดุงก็รับเงื่อนไขทั้งสองของนาง
เจ้าชายระเด่นบันดุง จึงสั่งการให้สร้างสระน้ำจนเสร็จอย่างรวดเร็ว แล้วจึงเชิญให้เจ้าหญิงโลโร ให้มาตรวจดู เมื่อมาถึงสระน้ำเจ้าหญิงโลโร ก็ออกอุบายให้เจ้าชายลงไปว่ายน้ำให้ดู แล้วแอบสั่งให้อำมาตย์กูโปโลนำก้อนหินมาถม เพื่อฝังร่างเจ้าชายระเด่นบันดุง ไว้ใต้สระน้ำ แต่เจ้าชายระเด่นบันดุง สามารถร่ายคาถาป้องกันตนเอง และหนีออกมาจากสระได้ได้อย่างปลอดภัย แล้วกลับไปหาเจ้าหญิงโลโร ด้วยความโกรธแค้น แต่เมื่อได้เห็นใบหน้าอันงดงามของเจ้าหญิงก็ ทำให้คลายความโกรธลงเจ้าหญิงโลโร จึงทวงสัญญาข้อที่สองที่ให้เจ้าชายระเด่น บันดุง สร้างเจดีย์ 1,000 องค์ ให้เสร็จภายในคืนเดียว เจ้าชายจึงร่ายมนต์เรียก เหล่าภูติผีปีศาจ ให้มาช่วยสร้างเจดีย์ให้ทันเวลา แต่เจ้าหญิงโลโร ไม่ต้องการแต่งงาน กับเจ้าชายระเด่นบันดุง จึงสั่งให้นางกำนัลทั้งหลายนำฟางข้าวไปเผาทางทิศตะวันออก เพื่อให้ท้องฟ้ามีสีแดงสว่างเหมือนกับเวลารุ่งเช้า เพื่อทำให้ไก่ขันเหล่าภูติผีปีศาจปีศาจ เมื่อเห็นว่าถึงเวลารุ่งเช้าแล้ว จึงหยุดการทำงานแล้วกลับไปรายงานเจ้าชายระเด่นบันดุงว่า ไม่สามารถสร้างเจดีย์ 1,000 องค์ ให้เสร็จทันเวลาได้ แต่ได้สร้างเสร็จไปแล้ว 999 องค์ ยังขาดแค่เพียงองค์เดียวเท่านั้น
เจ้าชายระเด่นบันดุง รับรู้ด้วยญาณได้ว่าที่จริงแล้ว ยังไม่ครบกำหนดเวลาหนึ่งคืน แต่เป็นเพราะอุบายของเจ้าหญิงโลโร แต่ก็เรียกให้เจ้าหญิงโลโรมาตรวจนับเจดีย์ทั้งหมด เจ้าหญิงจึงแจ้งว่าเจดีย์ที่สร้างขึ้นไม่ครบตามสัญญาเพราะมีเพียง 999 องค์ ดังนั้นนางจึงไม่ต้องแต่งงานด้วย เจ้าชายระเด่นบันดุง รู้สึกโกรธมากที่เจ้าหญิงโลโร ไม่ยอมรับการขอแต่งงานของพระองค์ แถมยังออกอุบายเพื่อทำร้ายและกลั่นแกล้งต่างๆ เพื่อไม่ให้เจ้าชายทำตามเงื่อนไขได้จึงประกาศวาจาสิทธิ์ว่า
“โลโร จองกรัง เอ๋ย! เจดีย์ที่ขาดอยู่อีก 1 องค์ มันก็คือ ตัวเจ้าเองอย่างไรเล่า”
เมื่อสิ้นคำวาจาสิทธิ์ร่างของเจ้าหญิงโลโร จองกรัง ก็เปลี่ยนไปกลายเป็นรูปปั้นหิน อีกทั้งบรรดานางกำนัลก็ต้องคำสาปให้เป็นสาวแก่ดูแลเจดีย์ไปจนสิ้นชีวิต
ด้วยเหตุนี้คนในยุดก่อนจึงมีความเชื่อว่า หากใครพาคู่รักมาที่เจดีย์ปรัมบานันแห่งนี้ ความรักของทั้งคู่ก็จะสิ้นสุดลง
พรัมบานัน หรือ จันดีโลโลจงกรัง เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย สร้างขึ้นในราชวงศ์สัญชัย ซึ่งนับถือศาสนาฮินดูในราวพุทธศตวรรษที่ 15 เทวาลัยประธานนั้น ประกอบด้วยเทวาลัยจำนวน 8 หลัง สร้างขึ้นอุทิศให้กับตรีมูรติ โดยเทวาลัย 8 หลัง เทวาลัยประธานจำนวนสามหลัง สร้างอุทิศให้กับตรีมูรติ อันได้แก่ เทวาลัยหลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ เทวาลัยหลังทิศเหนืออุทิศให้กับพระวิษณุ และเทวาลัยหลังทิศใต้อุทิศให้กับพระพรหม ส่วนเทวาลัยด้านหน้าอีกสามหลัง นั้นเป็นเทวาลัยที่สำหรับพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม อันได้แก่ โคนนทิ ครุฑและหงส์ ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเทวาลัยอีกสองหลังเล็กขนาบทั้งสองด้าน เทวาลัยหลังเล็กนี้คงสร้างขั้นเพื่ออุทิศให้กับพระสูรยะและพระจันทร์

Borobudur - บุโรพุทโธ

บุโรพุทโธ (Borobudur) วัดในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่เก้า
ภาพจาก worldatlas.com/articles/which-is-the-world-s-largest-buddhist-temple.html
บุโรพุทโธ (Borobudur) เป็นวัดในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 9 มีขนาด 123 x 123 เมตร สร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นศตวรรษก่อนนครวัดในกัมพูชา

ในวัดแห่งนี้มีภาพพุทธประวัติถึง 1,460 ชิ้น พระพุทธรูป 504 องค์รอบฐานองค์บุโรพุทธโธ หลายล้านคนมีความกระตือรือร้นที่จะเยี่ยมชมบุโรพุทธโธแห่งนี้ซึ่งเป็นหนึ่งในมรดกโลก มันไม่น่าแปลกใจตั้งแต่สถาปัตยกรรมและโครงสร้างของบุโรพุทธโธ ที่ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับพุทธศาสนิกชนกล่าวคำอธิษฐาน ทำให้บุโรพุทธโธ (Borobudur) เป็นที่น่าสนใจ
บุโรพุทโธ (Borobudur) ถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ Samaratungga ซึ่งเป็นหนึ่งของราชอาณาจักรมาตารามเก่า ในราชวงศ์ Sailendra ตามจารึกของ Kayumwungan ในอินโดนีเซีย ที่ชื่อ Hudaya Kandahjaya กล่าวว่า บุโรพุทธโธ (Borobudur) เป็นสถานที่สำหรับสวดมนต์ที่มีความสมบูรณ์ที่สุด สร้างขึ้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 824 เกือบ 100 ปี นับจากเวลาที่การก่อสร้างก็เริ่มขึ้น ชื่อของบุโรพุทธโธ (Borobudur) บางคนบอกว่าหมายถึง ภูเขาที่มีระเบียง (budhara) ในขณะที่คนอื่นๆ พูดว่า บุโรพุทโธ (Borobudur) นั่นหมายความว่า พระอารามในสถานที่สูง
บุโรพุทโธ (Borobudur) สร้างเป็นอาคารสิบระเบียง ความสูงก่อนที่จะปรับปรุงเป็น คือ 42 เมตร และหลังจากปรับปรุงแล้วเหลือ 34.5 เมตร เนื่องจากระดับต่ำสุดจะต้องใช้เป็นฐาน ฐานหกระเบียงแรกอยู่ในรูปแบบสี่เหลี่ยม สองระเบียงชั้นบนอยู่ในรูปแบบวงกลม และด้านบนเป็นระเบียงที่พระพุทธรูปหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ระเบียงแต่ละขั้นแสดงการเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตมนุษย์ ในวิถีทางเดียวกันกับลัทธิมหายาน โดยทุกคนที่ตั้งใจที่จะเข้าถึงระดับของพระพุทธเจ้าต้องไปผ่านแต่ละขั้นตอนของชีวิตเสียก่อน
ฐานของ บุโรพุทโธ (Borobudur) เรียกว่า Kamadhatu แสดงสัญลักษณ์ของความเป็นมนุษย์ ที่ถูกผูกไว้โดยยังคงแสดงถึงความต้องการทางเพศ บนชั้น แสดงไว้ 4 เรื่อง เรียกว่า Rupadhatu แสดงสัญลักษณ์ของความเป็นมนุษย์ที่มีการตั้งตัวเองเป็นอิสระจากความต้องการทางเพศ แต่ยังคงผูกพันกับรูปร่างหน้าตา บนระเบียงของชั้นนี้ พระพุทธรูปจะอยู่ในพื้นที่เปิดโล่งในขณะบนระเบียงที่สาม พระพุทธรูปอยู่อยู่ในเจดีย์ทรงคว่ำ มีแสงให้สองผ่านได้ เรียกว่า Arupadhatu แสดงถึงสัญลักษณ์ของมนุษย์ ที่ได้รับอิสระจากความปรารถนารูปร่างและหน้าตา ส่วนบนที่เรียกว่า Arupa แสดงถึงสัญลักษณ์ของนิพพาน ซึ่งเป็นที่ที่พระพุทธะเจ้าพำนักอยู่
ระเบียงแต่ละคนมีภาพแกะสลักที่แสดงเรื่องราวของพุทธประวัติ หรือแสดงลักษณะของชีวิตมนุษย์ แสดงถึงฝีมือประติมากรรมที่แกะสลักไว้อย่างสวยงาม เพื่อให้เข้าใจถึงลำดับของเรื่องราวจะต้องเดินตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทางเข้าวัด ภาพแกะสลักได้บอกเล่าเรื่องราวในตำนานของรามายณะ นอกจากนี้ยังมีภาพแกะสลักที่อธิบายสภาพของสังคมในเวลานั้น เช่น ตัวอย่างของกิจกรรมของเกษตรกร สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของระบบการเกษตร และการแล่นเรือใบ ที่แสดงถึงการเป็นตัวแทนของความก้าวหน้าของการเดินเรือใน Bergotta (Semarang ในปัจจุบัน)
ทั้งหมดของภาพแกะสลักที่ บุโรพุทโธ (Borobudur) แสดงให้เห็นถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุผลนี้เหมาะสำหรับการเรียนรู้และการสร้างความเข้าใจเบื่องต้นทางพุทธศาสนา สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจทางด้านพระพุทธศาสนา แนะนำว่าให้เดินไปรอบๆ ในแต่ละชั้นของ บุโรพุทธโธ (Borobudur) เพื่อให้รู้และเข้าใจปรัชญาของพุทธศาสนา Atisha พระสงฆ์จากอินเดียได้เดินทางมาเยี่ยมชมบุโรพุทธโธ (Borobudur) ในศตวรรษที่ 3 ที่ถูกสร้างขึ้นก่อนนครวัด ในประเทศกัมพูชาและ 4 ศตวรรษก่อนการสร้าง Cathedrals ในยุโรป
Atisha, มีความประสงค์ที่ต้องการทราบเกี่ยวกับจารึกเรื่องราวหรือข้อมูลในแต่ละภาพแกะสลัก ซึ่งพระ Serlingpa (พระมหากษัตริย์ของ Sriwijaya) ได้ถ่ายทอดให้ Atisha ฟัง หลังจากนั้น  Atisha ก็กลับไปยังอินเดีย เพื่อปรับปรุงคำสอนของพระพุทธเจ้าและได้สร้างสถาบันศาสนาที่ชื่อว่า Vikramasila หลังจากนั้น Atisha ก็กลายเป็นผู้นำทางศาสนา และสอนศาสนาให้กับชาวทิเบตจากการฝึกธรรม จารึก 6 คำสอนของพรุพุทธเจ้าจาก Serlingpa สรุปแล้วเป็นหลักของการเรียนการสอนที่เรียกว่า “แสงไฟสำหรับเส้นทางการตรัสรู้” หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็นเส้นทาง Bodhi Pradipa
คำถามเกี่ยวกับ บุโรพุทโธ (Borobudur) ที่ยังหาคำตอบไมได้ ในเรื่องของสภาพพื้นที่รอบๆ ก่อนการค้นพบบุโรพุทธโธ (Borobudur) ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร และการค้นพบบุโรพุทธโธ (Borobudur) นั้นอยู่ในสภาพที่ฝังอยู่  บางสมมติฐานบอกว่า บุโรพุทธโธ (Borobudur) ในรากฐานแรกเริ่มถูกล้อมรอบด้วยหนองน้ำ และมันถูกฝังอยู่เพราะจากการระเบิดภูเขาไฟเมอราปี (Merapi) ตามจารึกของ Kolkata จารึกไว้ว่า ‘Amawa’ นั่นหมายความว่าทะเลของนม ในภาษาสันสกฤตถูกนำมาใช้ในการอธิบายถึงการเกิดขึ้นของภัยพิบัติ ทะเลของนมนี่ได้รับการแปลความหมายว่า ลาวาของภูเขาไฟเมอราปี บางท่านบอกว่า บางคนบอกว่า บุโรพุทโธ (Borobudur) ถูกฝังโดยลาวาเย็นของภูเขาไฟเมอราปี

ยอกยา หรือ ยอกยาการ์ตา Yogya Yogyakarta Jogja Jogjakarta

กว่าจะเป็นยอกยาการ์ต้า…
ยอกยาการ์ตา ( Yogyakarta มักจะเรียกว่า จ๊อกจา, ยอกยา) ตั้งอยู่ในตอนกลางของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นแหล่งสินค้าราคาถูก มี 20 ดอลล่าร์ต่อวัน คุณก็สามารถที่จะหาอาหารอร่อยที่มีชื่อเสียง พร้อมเช่ารถมอเตอร์ไซด์เที่ยวสำรวจชายหาดที่บริสุทธิ์ และชมโบราณสถานต่างๆ ได้รอบเมือง
พันกว่าปีที่ผ่านมา, ยอกยาการ์ตา เป็นศูนย์กลางของ อาณาจักรมาตาราม (Mataram) โบราณ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองและมีอารยะธรรมสูง อาณาจักรนี้สร้างวิหารบุโรพุทธโธ (Borobudur) ซึ่งเป็นวัดในพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อ 300 ปีก่อนที่จะสร้างนครวัดในกัมพูชา สร้างพระธาตุอื่นๆ เช่น วัดพรัมบานัน (Prambanan) วัดราตู โบโก (Ratu Boko) และอีกหลายสิบวัดอื่นๆ กระจายอยู่ทั่วยอคยาการ์ต้า
แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างที่ลึกลับ อาณาจักรมาตาราม (Mataram) ได้ทำการย้ายศูนย์กลางไปที่ชวาตะวันออกในศตวรรษที่ 10 วัดงดงามจึงถูกทอดทิ้งและถูกฝังอยู่ภายใต้เถ้าถ่านจากการระเบิดของภูเขาไฟเมอราปี (Merapi) และหลังจากนั้น ยอกยาการ์ตา ก็กลับเข้าไปสู่ยุคมืด
หกร้อยปีต่อมา Panembahan Senopati ได้จัดตั้งอาณาจักรอิสลามมาตาราม (Islamic Mataram) ขึ้นในภูมิภาค และอีกครั้งที่ ยอกยาการ์ต้า ได้กลายเป็นพยานของประวัติศาสตร์มนุษย์แห่งอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่ปกครองบนเกาะชวาและพื้นที่โดยรอบ อิสลามมาตาราม (Islamic Mataram) ได้ทิ้งร่องรอยของซากปรักหักพังของป้อมปราการ ที่ฝังศพ และสุสานหลวงที่โกตาเกอเดะ (Kotagede) ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักในการเป็นศูนย์หัตถกรรมเงินในยอคยาการ์ต้า
ข้อตกลงใน Giyanti 1755 แบ่งอาณาจักรอิสลามมาตาราม (Islamic Mataram) เป็น Kasunanan Surakarta จะตั้งอยู่ในเมืองโซโล (Solo) และ Yogyakarta Sultanate ซึ่งก่อตั้งขึ้นในยอกยาการ์ตา ในส่วนของพระราชวัง (Kraton) ยังคงมีอยู่จนถึงวันนี้ และทำหน้าที่เป็นที่ประทับของสุลต่านและครอบครัวของ Abdi Dalem (คนรับใช้ในพระราชวัง) หลายร้อยคน ที่นับถือและให้บริการสุลต่านในพระราชวังอย่างสมัครใจ ที่พระราชวังยังมีการแสดงทางวัฒนธรรมหลายอย่างเช่น Wayang kulit (เล่นเงาหุ่นเชิด), มโหรี (gamelan) และชวาเต้นรำ ฯลฯ
ยอกยาการ์ตา ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่มีพลวัตของประเพณี และมีความทันสมัย​​ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ในเมืองนี้มีพระราชวังที่มีผู้รับใช้ในพระราชวังหลายร้อยคนที่ซื่อสัตย์ มีมหาวิทยาลัย Gadjah Mada ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวบ้านอาศัยอยู่ในแหล่งวัฒนธรรมมีความแข็งแกร่ง ในอีกด้านหนึ่งยังมีนักเรียนที่มีชีวิตความเป็นอยู่ติดกับเทคโนโลยีและความทันสมัยของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาน มีตลาดแบบดั้งเดิมและศูนย์หัตถกรรมเป็นจำนวนมากในเมือง และห้างสรรพสินค้าซึ่งมีความสมัยใหม่ครบครัน
ทางตอนเหนือสุดของยอคยาการ์ต้า จะเห็นภูเขาไฟเมอราปี (Merapi) ยืนตระหง่าอย่างภาคภูมิใจ มีความสูงที่ 10,000 ฟุต ภูเขาไฟแห่งนี้เป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ปะทุมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ร่องรอยจากการปะทุของปี 2006 สามารถร่วมเป็นสักขีพยานในหมู่บ้านกาลีอาเดิม (Kaliadem) ห่างจากเมืองยอคยาการ์ต้า 30 กม. ทัศนียภาพนาข้าวสีเขียวโดยมีพื้นหลังเป็น ภูเขาไฟเมอราปี (Merapi)
ทางตอนใต้ของยอกยาการ์ตา จะพบกับชายหาดมากมาย ชายหาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ ปารังตรีตีส (Parangtritis) กับตำนานของ Nyi Roro Kidul (ราชินีแห่งทิศใต้) แต่ยอคยาการ์ต้า มียังมีหลายชายหาดที่สวยงามตามธรรมชาติใน บริเวณกูนุง กีดูร (Gunung Kidul) ซึ่งมีชายหาดซาเด็ง (Sadeng) ซึ่งเป็นทางผ่านของปากแม่น้ำโบราณของแม่น้ำเบ็นกาวัน โซโล (Bengawan Solo) ซึ่งเป็นทางน้ำที่ไหลแรง สามารถทำให้เส้นทางน้ำไหลขึ้นไปทางทิสเหนือ ของเกาะชวาดังเช่นทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีชายหาด ซีอุง (Siung) ซึ่งมี 250 ช่องสำหรับปีนหน้าผา ชายหาดซุนดัก (Sundak) และอื่น ๆ อีกมากมาย

วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ตัวอักษรภาษาชวา

ยอกยากับตัวอักษรชวาบนถนนมาลิโอโบโร

หากเราเดินเที่ยวบริเวณถนนมาลิโอโบโร สังเกตดีดี จะพบกับตัวอักษรคล้ายกับตัวอักษรในภาษาไทยเรา นั้นคือ ตัวอักษรภาษาชวา หรือภาษาอินโดนีเซีย Aksara Jawa อ่านว่า อักษะรา จาวา การอ่านมันช่างคล้ายกับภาษาไทยเราจริงๆน่ะครับ

ในรูปที่ถ่ายมานั้น อ่านว่า Wa หรือ วา ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร Wa นั้น เชื่อว่า Wujud hana tan kena kirina แปลว่า ความเป็นมนุษย์นั้นมีจำกัด แต่ผลจากการเป็นมนุษย์นั้นมันช่างใหญ่โตยิ่งนัก

มาเรียนรู้เพิ่มเติมกับอักษรภาษาชวากัน
Ha ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Hana hurip wening suci แปลว่า ชีวิตนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ได้รับจากพระเจ้า

Na ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Nur candra, gaib candra, warsitaning candra แปลว่า ความหวังจากการเป็นมนุษย์ของพระเจ้านั้น ต้องการเห็นมนุษย์ผู้นั้นเติบโตเป็นคนดี

Ca ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Cipta wening, cipta mandulu, cipta dadi แปลว่า เส้นทางเดินของมนุษย์นั้น มีเป้าหมายเดียวกันคือ เพื่อไปหาเพระเจ้า

Ra ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Rasaingsun handulusih แปลว่า ความรักอันบริสุทธิ์เกิดขึ้นมาจากใจที่มีสติ

Ka ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Karsaningsun memayuhayuning bawana แปลว่า การตัดสินใจในการทำอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น สิ่งสำคัญคือทำแล้วต้องมีความสุขไม่เบียดเบียนคนอื่น

Da ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Dumadining dzat kang tanpa winangenan แปลว่า ชีวิตต้องรับได้กับทุกสิ่งที่เข้ามา

Ta ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Tatas, tutus, titi lan wibawa แปลว่า พื้นฐานของชีวิตนั้นจะต้องมีรายละเอียดของชีวิตของเป้าหมายในการดำเนินชีวิต

Sa ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Sifat ingsun handulu sifattullah แปลว่า การมอบความรักให้อื่น ควรจะมอบให้เหมือนกับที่พระเจ้ามอบให้แก่เรา

Wa ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Wujud hana tan kinira แปลว่า ความเป็นมนุษย์นั้นมีจำกัด แต่ผลจากการเป็นมนุษย์นั้นมันช่างใหญ่โตยิ่งนัก

La ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Lir handaya paseban jati แปลว่า การใช้ดำเนินชีวิตในแต่วัน จะต้องคิดู่เสมอว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้นเป้าหมายคือ พระเจ้า

Pa ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Papan kang tanpa kiblat แปลว่า สิ่งที่ได้รับจากพระเจ้านั้น จะมาจากทุกทิศทกทาง

Dha ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Dhuwur wekasane endak wiwitane แปลว่า  การจะประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ต้องเริ่มจากการเริ่มต้นก่อนเสมอ

Ja ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Jumbuhing kawula lan Gusti แปลว่า มีความเพียรพยายาม และทำความเข้าใจสิ่งที่พระเจ้าต้องการ

Ya ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Yakin marang samubarang tumindak kang dumadi แปลว่า มีความเชื่อและมั่นใจในสิ่งที่เจ้าพระเจ้าแจ้ง และรู้หน้าที่ของตนเอง

Nya ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Nyata tanpa mata แปลว่า เข้าใจชีวิต

Ma ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Madep mantep manembah mring llahi แปลว่า มั่นใจในสิ่งที่แสดงต่อพระเจ้า

Ga ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Guru sejati sing muruki แปลว่า ผู้สอนที่ดีที่สุดคือ ตัวเราเอง

Ba ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Bayu sejati kang andalani แปลว่า เพื่อให้ชีวิตมีความสมบูรณ์เราต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับธรรมชาติ

Tha ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Tukul saka niat แปลว่า ทุกสิ่งที่ทำ ต้องเริ่มมาจากความต้องการอย่างแท้ิง

Nga ในเชิงปรัชญาของตัวอักษร นั้นเชื่อว่า Ngracut busananing manungso แปลว่า ชีวิตต้องปราศจากความหยิ่งยะโส

จากปรัชญาที่ได้อ่านแล้ว จะพบว่าปรัชญาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าถึงพระเจ้า การใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้เข้าถึงความต้องการพระเจ้า การใช้ชีวิต การปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง

ขอบคุณคนข้างกายสำหรับแปลภาษาชวา