วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โกตา เกอเดะ (KOTAGEDE)

อดีตอาณาจักรมาตาราม ในศตวรรษที่ 16
แหล่งที่มา http://www.panduanwisatajogja.com/mengunjungi-kota-tua-di-kotagede/
โกต้า เกอเดะ (Kota Gede) บางครั้งจะเรียกว่าเป็นเมืองหลวงเก่า เพราะครั้งหนึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นอาณาจักรของอิสลามมาตาราม ก่อนหน้านี้สถานที่แห่งนี้เป็นป่าที่เรียกว่า Mentaok Alas ถูกเรียกโดยสุลต่าน Panembahan Senopati Pajang กษัตริย์แห่งอาณาจักรฮินดูในชวาตะวันออก

ในปี 1575 สุลต่าน Panembahan Senopati ได้กลายเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรมาตารามองค์แรก เป็นผู้สร้างเมืองแห่งนี้ จนได้กลานมาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมาตารามในปี 1640 หลังจากนั้น กษัตริย์ของอาณาจักรมาตารามองค์ที่ 3 ที่ชื่อว่า Sultan Agung ได้ย้ายเมืองหลวงไปที่ Kerto เมืองหลวงแห่งใหม่นี้อยู่ทางทิศตะวันตกของโกตา เกอเดะ ไป 6 กิโลเมตร หลังจากย้ายไปแล้ว สิ่งก่อสร้างหรือสถาปัจยกรรมต่างๆ ได้ถูงทิ้งให้รกร้างอยู่ที่โกตา เกอเดะแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหลุมฝังศพของกษัตริย์ Senopati ท้องพระโรงหลวง สระอาบน้ำ มรดกที่ถือว่าสำคัญที่ยังมีอยู่ และยังสามารถใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ มัสยิดโกตา เกอเดะ ประมาณ 200 เมตร ห่างจากตลาดพื้นเมืองไปทางทิศใต้ โดยเปิดให้เข้าชม ทุกวันจันทร์และวันพุธ เริ่มจากเวลา 10.00-12.00 น. และวันศุกร์ เวลา 13.00-15.00 น. ผู้เข้าชมจะต้องสวมใส่ชุดชวา แบบบาติก หรือสามารถเช่าได้ในบริเวณนั้น นอกจากนั้นยังสามารถพบกับตึกเก่าแก่ บ้านของคนพื้นเมือง (Kalang) โดยชาวบ้านบริเวณนั้นจะประกอบอาชีพแกะสลักไม้และทอง พวกเขามาจาก อาณาจักรฮินดูมัชปาหิต ในชวาตะวันออกของบาหลี
ปี 1700 หมู่บ้าน Kalang ได้กลายเป็นหมู่บ้านที่ร่ำรวย เนื่องจากการประกอบอาชีพดังกล่าว พวกเขาสร้างบ้านในรูปแบบชวาฮินดู หลังจากนั้นในช่วงปี 1800-1900 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการสร้างบ้าน โดยรวมสถาปัตยกรรมบ้านแบบชวา (Joglo) โดยใช้ในการก่อสร้างมัสยิด และเครื่องประดับแบบอาหรับ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้เกิดขึ้นในช่วงปี 1920-1930 เมื่อหมู่บ้าน Kalang ได้ถูกครอบครอง หรือถูกยึดครองโดยชาวดัตช์ ในระยะเวลานั้น หมู่บ้าน Kalang ได้มีสถาปัตยกรรมใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า European Baroque ซึ่งปัจจุบันยังคงมีเหลือให้เห็นอยู่ที่บ้านของครอบครัว Pawiro Sentiko
บ้านของชาวบ้านในบริเวณ โกตา เกอเดะ เราจะเรียกว่า “Village Square” โดยบ้านจะถูกสร้างขึ้นบริเวณที่แคบๆ ถนนเข้าหมู่บ้านหรือซอยจะแคบมาก โดยหลังคาจะชิดกันมากหรือบ้างบ้านจะทับซ้อนกันเลยทีเดียว และในบริเวณโกตา เกอเดะ จะพบกับช่างทำเครื่องเงินมากมาย และมีชื่องเสียงมาก หากไปท่องเที่ยวในบริเวณโกตา เกอเดะ ก็จะได้พบกับตลาดพื้นบ้าน
โดยระบบเมืองของอาณาจักรชวา มักจะอยู่ในลักษณะของวัง และมีตลาดในแนววางตัวทิศใต้ ทอดยาวไปทางทิศเหนือ จากหนังสือ Nagarakertagama ซึ่งกล่าวถึงสมัยอาณาจักรมัชปาหิต หรือในศตวรรตที่ 14 จนกระทั่งถึงสมัย Panembahan และจนถึงปัจจุบัน กล่าวว่ารูปแบบเมืองแบบนั้นยังคงเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งของตลาด หรือการวางรูปแบบของตลาดและวัง หากใครที่ต้องการค้นหาโกตา เกอเดะ จะต้องเริ่มจากตลาดพื้นเมืองแห่งนี้และเดินต่อไปทางทิศใต้ ก็จะพบกับสุสาน ซากปรักหักพังของป้องปราการและกำแพงที่ปกคลุมด้วยต้นไทร
สุสานบรรพบุรุษของอาณาจักมาตาราม เดินไปทางทิศใต้ของโกตา เกอเดะ ประมาณ 100 เมตรจากตลาดพื้นเมือง จะพบกับสุสานของบรรพบุรุษมาตาราม ซึ่งห้องล้อมไปด้วยกำแพงสูงและแข็งแรง สถาปัตยกรรมเป็นแบบฮินดู มีลายแกะไม้ด้วยไม้ที่สวยงาม และจะมีผู้ดูแลสถานที่แห่งนี้ด้วยการแต่งกายแบบชวาตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง เราจะต้องเดินทาง 3 ส่วน ด้วยกันกว่าจะถึงสุสานหลวง และก่อนเข้าสุสานหลวงเราจะต้องสวมชุดชวาเสียก่อนเพื่อแสดงถึงการเคารพต่อสถานที่และเคารพต่อบรรพบุรุษ นักท่องเที่ยวอนุญาตให้เข้าสุสานหลวงแห่งนี้ได้ในวันอาทิตย์ วันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. และไม่อนุญาตให้มีการถ่ายรูปแต่ประการใด หรือสวมใส่เครื่องประดับที่ประกอบด้วยทอง
มัสยิดโกตา เกอเดะ ซึ่งถือว่าเป็นมัสยิดที่เก่าแก่สุดของเมืองยอคยาการ์ต้า ตั้งอยู่ก่อนที่จะถึงสุสานหลวง
บ้านพื้นเมือง ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือก่อนที่จะเข้าไปสุสานหลวง หรือเดินไปอีก 50 เมตรไปทางทิศใต้ ก็จะพบกับบ้านเก่าแก่ในรูปแบบชวาโกตา เกอเดะ ซึ่งมีที่เดียว

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น